วันจันทร์ - วันศุกร์ 09:00 – 17:00 / วันเสาร์ - วันอาทิตย์ ปิด ysdathailand@ysda.org

ลมวน (ลม-วน 2025)

ลมวน (ลม-วน 2025)

นาน ๆ จะหนาวแบบนี้สักที อากาศหนาวต้อนรับปีพ.ศ.2568 นี้ปกติหรือไม่?

ปัจจัยของการลดลงของอุณหภูมิอย่างเป็นปรากฏการณ์ในประเทศไทยครั้งนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุ 2 ปัจจัย คือ ‘ปรากฏการณ์เปลี่ยนผ่านของลานีญา’ และเสริมด้วย ‘กระแสลมวนขั้วโลก’ (Polar Vortex)

ลานีญา ปรากฏการณ์ที่ทำให้ภูมิภาคแถวบ้านเราจนถึงออสเตรเลียฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะที่ทวีปอเมริกาใต้กลับแห้งแล้ง ในช่วงเดือนมกราคมนี้ คือช่วงการเปลี่ยนผ่านของลานีญาไปยังเอลนีโญ ทำให้ประเทศไทยอุณหภูมิลดลง และฝนตกในภาคใต้

กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) เป็นกระแสลมที่พัดวนอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ มีความกดอากาศต่ำทำให้มีความหนาวเย็นตลอดเวลาในบริเวณนั้น และจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อถึงฤดูหนาว กระแสลมวนขั้วโลกนี้จะสัมพันธ์กับ ‘กระแสลมกรด’ (Jet stream) เป็นกระแสลมที่พัดวนรอบโลก เสมือนเป็นเข็มขัดไม่ให้กระแสลมวนขั้วโลกเคลื่อนตัวต่ำลงมา แต่เมื่อภาวะโลกรวนทำให้สภาพอากาศไม่สมดุล กระแสลมกรดอ่อนตัวลง ส่งผลให้กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) เคลื่อนตัวต่ำลงและพัดพาอากาศหนาวเย็นมายังประเทศเขตอบอุ่น เช่น ประเทศจีนในปีนี้หนาวที่สุดในรอบ 30 ปี โดยในปลายเดือนธันวาคม 2567 มีอุณหภูมิถึง -53 องศาเซลเซียส ที่เมืองโม่เหอในมณฑลต้าซิงอันหลิง ซึ่งอยู่เหนือสุดของจีน รวมทั้งมีหิมะตกหนักเกือบทั้งประเทศ

เทือกเขาหิมาลัยกั้นกระแสลมวนนี้ไว้ แต่การที่ประเทศจีนมีอากาศหนาวกว่าปกติ มวลอากาศเย็นจึงแผ่ขยายลงมายังประเทศใต้เส้นศูนย์สูตรโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย จึงทำให้ประเทศเรามีอากาศหนาวกว่าปกติ และหนาวที่สุดในรอบหลาย 10 ปี

ร่วมกิจกรรมกับสมาคมยุวชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเราและโลกให้ดีขึ้นกันค่ะ!lmwn00002

 

lmwn00003

 

lmwn00004

 

lmwn00005

แชร์:

บทความยอดนิยม

ติดตามเราได้ที่

แท็กที่เกี่ยวข้อง